บอร์ดทดลองไมโครคอนโทลเลอร์ MCS-51 แบบ 40 ขามาให้ทดลองได้สร้างใช้กัน สาเหตุที่ผมได้เลือกใช้ไมโครคอนโทลเลอร์ แบบ 40 ขา ก็เพราะว่าโครสร้างภายในสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย และยังสามารถขายระบบให้ใหญ่ขึ้นได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการต่อ ขยายหน่วยความจำข้อมูลภายนอก (Data Memory) หน่วยความจำโปรแกรมภายนอก (Program Memory) หรือ ขยายพอร์ทอินพุตเอาต์พุต (I/O Port) โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า Memory Map เอาละครับมาดูคุณสมบัติของตัวบอร์ดกันดีกว่า บอร์ดทดลองที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โดยมี ZIP Scock ขนาด 40 pin เพื่อความสดวกที่จะสามารถถอดตัว IC ไมโครคอนโทลเลอร์ออกมาทำการโปรแกรมได้ง่าย ถ้าใช้เป็น Socket ธรรมดาอาจจะต้องเสียเวลาถอดตัว IC ออกจาก Socket ซึ่งถอดได้ไม่ง่ายนักอาจทำให้ ขา IC หักได้ บอร์ดทดลองนึ้สามารถใช้กับ ไมโครคอนโทลเลอร์ MCS-51 ขนาด 40 pin ของ Atmel ได้ทุกเบอร์ ไม่ว่า AT89C51, AT89C52 , AT89C55 , AT89S8252 , AT89S53 ฯลฯ บนบอร์มี Connecter สำหรับต่อสายแพรขนาด 40 pin เพื่อใช้ในกรณีที่ต้องเชื่อต่อกับอุปกรณ์บนแผ่น PCB เอนกประสงค์ และยังมี Connecter สำหรับจ๊มสายเพื่อทดลองบน แผงต่อวงจรหรือเบรดบอร์ด ดังแสดงในรูปที่ 6 และยังมีวงจรภาคจ่ายไฟขนาด 5 V ด้วย 1 ชุด
คุณสมบัติทางเทคนิค
- ZIP 40 Pin สำหรับติดตั้งไมโครคอนโทลลเลอร์ MCS-51 ขนาด 40 ขา
- มี Connecter ขนาด 40 Pin ที่ต่อตรงจากขาของไมโครคอนโทลเลอร์ (MCS-51 BUS) สำหรับขยายระบบหรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์บนแผ่น PCB
- มีวงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกาความถี่ 11.0592 MHz
- มี Socket ขนาด 40 Pin ที่ต่อตรงจากขาไมโครคอนโทลเลอร์ สำหรับจ๊มสายเพื่อต่อวงจรบนแผงต่อวงจรหรือเบรดบอร์ด โดยสามารถใช้งานพอร์ทของไมโครคอนโทลเลอร์ได้ครบทั้ง 4 พอร์ท
- มีชุดแหล่งจ่ายไฟตรง ขนาด 5 V 1A บนบอร์ด พร้อม LED แสดงสถานะ
- มี Connecter สำหรับเชื่อต่อ Adapter ขนาด 9 - 12 VDC พร้อมด้วย Connecter สำหรับต่อกับแหล่งจ่ายไฟภายนอก
หลังจากทราคุณสมบัติทางเทคนิกแล้วก็มาลงมือสร้างกันเลยดีกว่า โดยในรูปที่ 1 และ รูปที่ 2 เป็นวงจรของตัวบอร์ด และภาคจ่ายไฟของบอร์ดตามลำดับ การสร้างจะต้องเตรียม แผ่น PCB โดยอาจจะทำเองหรือไปให้ที่ร้านที่รับทำ ก็ได้หลังจากนั้น หาซื้ออุปกรณ์มาประกอบลงบอร์ด โดยให้ดูตัวอย่างตาม รูปที่ 5
หลังจากประกอบเสร็จแล้วมาทำการทดสอบ โดยใช้ Adaptor ขนาด 9V - 12V (18V ก็ใช้ได้แต่ IC ภาคจ่ายไฟจะร้อน) ต่อเข้าที่ Connector จะต้องเห็น LED ติดสว่าง หลังจากนั้น ให้นำมัลติมิเตอร์ มาวัดไฟที่ ขา 40 และขา 31 ของ ZIP Socket จะต้องอ่านค่าแรงดันได้ประมาณ 5 V ถ้าอ่านค่าได้น้อยกว่านี้มาก ให้ครวจสอบว่า PCB มีการลัดวงจรกันหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ตรวจสอบที่ภาคจ่าย ไฟที่ IC 7805 ถ้าได้ตามนี้แล้วก็แสงว่าบอร์ดทดลองของเราสามารถทำงานได้แล้ว
รูปที่ 1 รูปวงจรของบอร์ดทดลอง
รูปที่ 2 รูปวงจรของภาคจ่ายไฟบนบอร์ด
รูปที่ 3 รูปการเชื่อมต่อ connecter บนบอร์ด
รูปที่ 4 รูป PCB ของบอร์ดทดลอง
รูปที่ 5 รูปการลองอุปกรณ์บนบอร์ด
รูปที่ 6 รูปบอร์ดต้นแบบที่ได้สร้างขึ้น
http://www.micro51.com/article/00002.html