ฟังดนตรีก่อนเล่นเครื่องเสียง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 24, 2024, 02:55:26 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟังดนตรีก่อนเล่นเครื่องเสียง  (อ่าน 4019 ครั้ง)
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2007, 12:34:53 am »

ฟังดนตรีก่อนเล่นเครื่องเสียง by wijit
 
เมื่อพูดถึง "เครื่องเสียง" ก็จะมีคนจำนวนหนึ่ง ไม่ค่อยจะเข้าใจความหมายของคำคำนี้กันนัก ทั้ง ๆ ที่ชีวิตประจำวันของผู้คนนั้น หาได้หลีกพ้นจากเครื่องเสียงไม่ บางทีก็มีการเข้าใจไขว้เขวไปหลายเรื่อง บ้างนึกถึงเครื่องเสียงในบาร์ ผับ ดิสโกเธค หรือไม่ก็นึกถึงเครื่องเสียงอิเล็กทรอนิกส์แถวบ้านหม้อ ส่วนกลุ่มที่เป็นนักเล่นเครื่องเสียงในบ้านที่เรียกว่าโฮมออดิโอ (HOME-AUDIO) นั้น มีความเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง
ความคลุมเครือของเครื่องเสียงนั้น เกิดจากมีวิทยาการหลาย ๆ แขนง เข้าไปผสมผสานในตัวของมัน เลยดูยุ่งยากเกินกว่าที่คนไม่สนใจด้านนี้จะทำความเข้าใจได้ แท้จริงแล้ว การออกแบบเครื่องเสียงให้นำมาใช้ในบ้านเนื่อง ด้วยจุดประสงค์หลักก็คือ
คืนเสียงดนตรีธรรมชาติมาสู่ผู้นิยมฟังดนตรี - เพลง !!

มีจำนวนมากมายเหลือจะนับได้ เมื่อพูดถึงคนที่จ่ายสตางค์ซื้อเครื่องเสียง 1ชุด แล้วต้องทนทุกข์อยู่กับระบบเครื่องเสียงที่ไม่เข้าท่าตลอดเวลา อย่างนี้เขาเรียกฟังเพลงด้วยความเป็นทุกข์ เครื่องเสียงประเภทคอมโปเน้นท์ที่วางขายเกลื่อนตลาดอยู่นั้น เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ดีแต่สวย ส่วนเสียงนั้นยังห่างความเป็นดนตรีอีกแยะ ซึ่งในการเล่นเครื่องเสียงแบบที่นักเล่นเครื่องเสียงเขาเล่นกัน คนพวกนี้จะมีคำศัพท์เฉพาะกลุ่ม ที่เขาเรียกกันว่า พวกออดิโอไฟล์ (AUDIOPHILE) หรือนักเลงเครื่องเสียง (พวกคลั่งเครื่องเสียงนั่นแล้ว) ดู ๆ ไปก็เหมือนพวกนักเลงพระเครื่อง นักเล่นปืน ซึ่งมีเทคนิคพิเศษเฉพาะกลุ่ม ทั้งคำศัพท์เฉพาะและวิธีการเล่น ทีนี้พอคนที่อยากจะมีชุดเครื่องเสียงไว้ฟัง ก็ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงถึงจะเป็นไปได้อย่างพวกออดิโอไฟล์ ก็เลยเล่นมันง่าย ๆ ซื้อมินิคอมโปเน้นท์ซะชุดหนึ่งก็หมดเรื่อง
ก็หมดเรื่องจริง ๆ แหละ คือเสียงที่ได้มักจะไม่ได้เรื่องไปด้วยละครับ

เอาละ............ ถ้าเราจะมาเริ่มต้นเล่นเครื่องเสียงกัน จะต้องมีการติววิชานี้กันแบบเรียนลัดสักเล็กน้อย ขอให้ยึดปรัชญาหลักเอาไว้เสมอ เรียกว่าท่องให้ขึ้นใจเอาไว้ว่า ไฮฟิเดลิตี้ (HIFIDELITY) นั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่แม้แต่นักเล่นเซียนเครื่องเสียงยังเลือนลืมเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็เลยเข้าทำนองนักขี่ม้าตกม้าตาย คำที่ว่านี้ หมายถึง
"ความสมจริง หรือใกล้เคียงความเป็นจริงอย่างยิ่ง"

นั่นก็คือ การเล่นเครื่องเสียงก็เพื่อให้ได้มาซึ่งเสียงดนตรีธรรมชาติแท้จริง ด้วยการย่อส่วนเวทีคอนเสิร์ตมาอยู่ในห้องฟังหรือในบ้านอย่างเหมาะสม เอากันแค่ใกล้เคียงที่สุด อย่าไปหวังให้มันเหมือนดนตรีจริง เพราะชุดเครื่องเสียงราคา 3 ล้านบาท ยังทำไม่ได้เลย การเล่นเครื่องเสียงเพื่อให้ใกล้เคียงดนตรีจริง ๆ นี้แหละทำให้เราต้องแสวงหาเครื่องเสียงที่ดีกันตลอดเวลาไม่มีทางหยุดนิ่ง ความสนุกมันอยู่ตรงนี้เอง ได้สนุกกับความขาด ๆ เกิน ๆ ของการเล่นเครื่องเสียง
อย่างไรก็ตาม จะเล่นเครื่องเสียงกันทั้งที ถ้ายังไม่เคยสัมผัสดนตรีจริง ๆ ละก็ หนทางมันย่อมอยู่ห่างไกล เมื่อเล่นถึงจุดหนึ่งคุณอาจเป็น "นักฟังเครื่อง" ไม่ใช่นักฟังเสียงดนตรีก็ได้ ดังนั้นขอให้เริ่มต้นด้วยการหัดฟังดนตรีจริง จากวงอาร์เคสตราบ้าง ซึ่งจะมีการเปิดแสดงอยู่เสมอที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย หรือที่หอประชุมเอยูเอ (ขอรายการล่วงหน้าจากเจ้าของสถานที่ก็ได้) ถ้าคิดว่าการไปฟังดนตรีพวกนี้จะต้องปีนบันไดฟังละก็ ให้ตั้งต้นคิดเสียใหม่ เริ่มจากการชมฟังดนตรีคลาสสิกง่าย ๆ อย่างเช่นสตริงควอเต็ต หรือ แชมเบอร์มิวสิกที่มีนักดนตรีบรรเลงเพียง 4-5 คน เป็นการเริ่มต้น ฟังอย่างไร?
 
Mcintosh Hi - End

การนั่งฟังดนตรีประเภทนี้ เป็นที่รู้กันว่า เสียงรบกวนต่าง ๆ แทบจะไม่มี เพราะห้องแสดงดนตรีที่พื้นผิวอะคูสติกดีเยี่ยม เหมาะสม และมารยาทในการฟังเขาจะไม่มีการพูดคุยกันจ้อกแจ้กจอแจ หรือฟังดนตรีไปเคี้ยวข้าวโพดคั่วไปเหมือนคนดูหนัง เลือกที่นั่งตรงกลางได้ยิ่งดี คือนั่งให้บาลานซ์ระหว่างเวทีซ้ายขวาฟังดนตรี แล้วลองหลับตาในบางช่วงบางขณะ พอมีสมาชิกสักหน่อยคุณจะพบว่า แม้กระทั่งเราจะมองไม่เห็นชิ้นดนตรีบนเวที แต่เราจะได้รับรู้ว่ามีเครื่องดนตรีอะไรบ้างที่เล่นอยู่ตรงหน้า โสตและสมองจะแยกแยะได้ออก ข้อดีของดนตรีคลาสสิกแบบนี้ก็คือ ไม่มีการใช้เครื่องเสียง ซึ่งมักเป็นตัวทำให้เสียงดนตรีแท้นั้นเพี้ยนหรือเบี่ยงเบนไปจากความเป็นจริงได้
ตอนนี้เรามาสมมติกันว่ามีโอกาสไปฟังดนตรีเครื่องสายแบบตะวันตกบรรเลงในรูปแชมเบอร์มิวสิก (คำว่าแซมเบอร์มิวสิก คือ ดนตรีที่เล่นผสมกันแบบง่าย 4-5 ชิ้น เล่นในห้องโถงที่ไม่ใหญ่มากนัก เมื่อก่อนคือการเล่นของนักดนตรีเอกของโลก เมื่อมาพบปะกันก็เลยถือโอกาสเอาเครื่องดนตรีของตนออกมาแจมกัน มันก็ได้กลายมาเป็นดนตรีแบบแชมเบอร์มิวสิกในเวลาต่อมา) ซึ่งดนตรีชุดนี้จะประกอบด้วย ไวโอลิน 2 (คัน) วิโอลา 1 (คัน) เชลโล 1 (คัน) ไวโอลินจะให้เสียงพื้นฐานของมันในทางแหลมหวาน วิโอลา จะให้เสียงแหลมหวานที่ดูห้าวหรือนุ่มขึ้นมานิดหนึ่ง ในขณะที่เสียงทุ้มก็จะได้จากเชลโลที่จะเป็นเครื่องสีที่ให้เสียงความถี่ต่ำๆ
เมื่อไปฟังดนตรีประเภทนี้ คุณลองดูวิธีการจัดวงว่าเขาเรียงกันอย่างไร

ตามปกติจะเรียงไวโอลินจากซ้ายไปหาวิโอลาตรงกลาง และเชลโลอยู่ขวามือสุดของเวทีดนตรี เมื่อทำการบรรเลง การประสานกันของดนตรีแต่ละชิ้นนั้นแม้จะผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว แต่คุณลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น จะมีความเป็นตัวของตัวเองอยู่ คือ ไอเวอร์โทนของเครื่องดนตรีจะบอกให้เราทราบว่า นั่นเป็นเสียงของเครื่องดนตรีชนิดใด เป็นไวโอลิน วิโอลา หรือเชลโล หลับตาบ้าง เพื่อสังเกตว่าตอนที่มองเห็นกับการไม่มองดูบนเวทีดนตรี เรายังได้เห็นเสียงดนตรีครบขึ้นหรือไม่ พิจารณาความกว้างลึกของเวทีดนตรี (SOUND STAGE) ลักษณะการก้องสะท้อนที่เกิดจากการเล่นดนตรีในห้องโถงนั้น (หอประชุม, คอนเสิร์ตฮอลล์) ว่ามีการก้องสะท้อน (ECHO) การหน่วงเวลา (DELEY) สภาพความเป็นจริงตรงนั้น เมื่อฟังอย่างตั้งใจ เราจะเริ่มเรียนรู้ขั้นต้นว่าดนตรีบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งเจือปนเป็นอย่างนี้นะ แล้วค่อย ๆ ขยับเกรดไปฟังดนตรีที่วงใหญ่ ๆ ต่อไป และอาจจะก้าวไปจนถึงการแสดงสดของดนตรีที่มีการขยายเสียงด้วยเครื่องดนตรี พี.เอ. (PUBLIC ADRESS = เครื่องเสียงในงานอาชีพ) ดูความแตกต่างดนตรีแต่ละประเภท JAZZ, POP, ROCK, LIGHTMUSIC, COUNTRY รวมถึง CLASSIC ที่แนะนำข้างต้นนั้น พิจารณาความแตกต่างหาสิ่งที่คุณชอบฟังด้วย เพราะมันจะกลายเป็นที่มาของสไตล์เฉพาะตัวของคุณเอง
นั่นเป็นข้อแนะนำแบบที่ง่ายอย่างยิ่งไม่ลำบากในการถือปฏิบัติ และจะมาเอื้อประโยชน์ให้เราวันข้างหน้า ดีกว่าการหลับหูหลับตาเดินเข้าไปในร้านเครื่องเสียง ไปถูกร้านค้าเชือด
จะยกตัวอย่างของตัวผู้เขียนเองนี่แหละ ได้ห่างเหินการฟังดนตรีคลาสสิกแบบบรรเลงด้วยวงออร์เคสตราไปนานเกือบปี มัวแต่หลงทางหาซื้อเครื่องเสียงลำโพง ที่ตัวเองคิดว่าดีที่สุดมาฟังอย่างครึ้มอกครึ้มใจ อยู่มาวันหนึ่งได้มีโอกาสฟังการเดี่ยวไวโอลินของนักดนตรีมือหนึ่ง เสียงติดหูมาจนถึงบ้าน รีบมาเปิดชุดเครื่องเสียงฟัง อะไรกันนั่น เสียงไวโอลินจากลำโพงที่แพง ๆ เรือนแสน ทำไมมันผิดความเป็นจริงขนาดนั้น พอไปยกลำโพงราคาสามหมื่นบาทมาเปลี่ยน เป็นลำโพงที่เคย "เซ็ง" กับมันมาตลอด ค่าที่ว่าเสียงมันออกจืด ๆ เรียบ ๆ ปรากฏว่าลำโพงคู่นี้กลับให้เสียงที่เหมือนดนตรีจริง ๆ อย่างที่ฟังในเวทีคอนเสิร์ตมากกว่า ดังนั้นใครที่คิดว่าของแพงแล้วจะดีหรือถูกต้องนั้นไม่จริงเสมอไป บางทีมันก็ลากหูเราไปตามใจอยากมากกว่าแสวงหาความจริง
การเล่นเครื่องเสียงนั้น บางคนอาจจะควักกระเป๋าสตางค์สักเท่าไร ๆ ก็ไม่เดือดร้อน แต่เครื่องเสียงนี่มันไม่เหมือนซื้อข้าวปลาอาหารหรือของอุปโภคบริโภคอื่น ๆ ซื้อหมูหนึ่งกิโล ราคา 70 บาท ซื้อสองกิโลมันก็ 140 บาท ได้ปริมาณเพิ่มขึ้นเห็นชัด ๆ แต่การเปลี่ยนเครื่องเสียง ถ้าจะให้เสียงดีกว่าชุดเดิม สมมติหนึ่งเท่าตัวอาจจะต้องใช้เงินเพิ่มขึ้น 10-20 เท่า อย่าได้เอาสูตรคณิตศาสตร์มาใช้กับการเล่นเครื่องเสียงเด็ดขาดทีเดียว เพราะเครื่องเสียงไม่สามารถคำนวณด้วยสูตรตัวเลข และเรื่องราวที่เขียนบอกเล่ามาข้างต้นจนถึงบรรทัดนี้ ก็จะเป็นการพิสูจน์ว่าเครื่องเสียงประเภทมินิคอมโปเน้นท์นั้นไม่มีวันเป็นชุดเครื่องเสียงชุดหลักในอุดมคติได้เด็ดขาด เป็นได้อย่างดีก็เพียงชุดเครื่องเสียงชุดที่สองของบ้านเท่านั้น เพราะความห่างไกลจากคำว่า ไฮ-ฟิเดลิตี้นั่นเอง (ฟังจนหนวดหงอก เสียงก็ไม่สมจริงสักที)
ศัพท์คำว่าไฮไฟ (HIFI) นั้น เรามักจะพบกันค่อนข้างบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในการเล่นเครื่องเสียงที่เป็นเรื่องที่พบเสมอ ๆ อยู่แล้ว เพราะได้มาจากคำว่า HIGH FIDELITY หรือ HIFI-DELITY นั่นเอง
ส่วนศัพท์อีกคำหนึ่งที่ว่า สเตอริโอ (STEREO) ก็มักจะอยู่เคียงข้างกันเสมอ คำนี้หมายถึงการรับรู้ด้วยประสาทการรับฟังทั้งคู่มีซ้าย-ขวา คนที่เริ่มสนใจเครื่องเสียงใหม่ ๆ มักจะเรียกการเล่นเครื่องเสียงว่าเล่นเครื่องสเตอริโอ แล้วก็เข้าใจว่าสเตอริโอ คือ เสียงทุ้มที่ดังตูม ๆ นั่นเอง ก็เลยหลงทิศผิดทางกันมาได้เรื่อย ๆ เป็นเหยื่อให้ผู้ขายบางกลุ่มเข้าปล้นเงินในกระเป๋าทางอ้อม บางคนตามเล่นเครื่องเสียงไม่ไหว เพราะมีรุ่นใหม่เรื่อย ๆ พาลท้อใจเลิกเล่นมันไปเสียเลยก็มี หันไปฟังซาวด์อะเบาต์มันกว่า ว่างั้นเถอะ
Mark Levinson No37
ที่จริงการเล่นเครื่องเสียง ขอให้หาโอกาส มีประสบการณ์ฟังดนตรีจริง ๆ เทียบกับเครื่องเสียงที่ดี ๆ ขึ้นเรื่อย ๆ จะค่อย ๆ เข้าใจเองแล้วจะหายข้องใจว่า ทำไมคนเล่นระดับออดิโอไฟล์เขาถึงต้องเล่นเครื่องเสียงแยกชิ้น แทนที่จะเล่นคอมโปรวมชิ้น (ทุกอย่างครบในเครื่องเดียว) และทำไมเครื่องเสียงยี่ห้อดัง ๆ แพง ๆ อย่าง มาร์ค ลีวินสัน, เชลโล, แม็คอินทอช, แอคคิวเฟส ฯลฯ (MARK LEVINSON, CELLO, McINTOSH, ACCUPHASE) จึงเป็นที่ใฝ่ฝันและปรารถนากันนัก ถึงจะแพงแค่ไหนก็พยายามกัดฟันซื้อหามาเล่น แน่นอนว่า เครื่องเสียงประเภทแยกชิ้นนั้นเมื่อจัดผสมกันจนครบสูตรแล้ว เสียงที่ได้มันจะเข้าข่ายไฮฟิเดลิตี้ค่อนข้างแน่นอน
แต่วิธีการผสมชุดนี่แหละเป็นเรื่องยากต้องค่อย ๆ เรียนรู้ไป !

ระดับความดัง เล่นเครื่องเสียง ซึ่งอยากให้ทำความเข้าใจกันก่อนที่จะก้าวไปเรียนรู้เรื่องอื่นๆ เมื่อเราฟังดนตรีจริง ๆ นั้น มีระดับความดังอยู่ในระดับหนึ่งมีความดังเท่าดนตรีจริง ๆ แต่สามารถจัดชุดเครื่องเสียงให้มีเสียงเครื่องเสียง จะดีกว่าของจริงก็ตรงที่สามารถฟังในระดับความดังขนาดไหนก็ได้ตามความพอใจ เปิดให้มันเบา ๆ หรือฟังแบบยกวงดนตรีมาวางตรงหน้าก็เร่งระดับความดังขึ้นไปมาก ๆ จะเอาให้ถึงกับเพื่อนบ้านเจริญพรก็ยังได้ ขึ้นกับว่าจะฟังเครื่องเสียงแบบพักผ่อนหรือแบบหาเรื่อง แบบที่วัยรุ่นเขาแต่งรถซิ่งกัน ก็ยัดเครื่องเปิดอัดแข่งกันให้มันหนวกหูตายกันไปข้างหนึ่ง ในที่นี้ จะเน้นเฉพาะการฟังเพื่อไฮฟิเดลิตี้เท่านั้น ในตารางประกอบนี้คือระดับความดังที่นักเล่นเครื่องเสียงควรทราบเอาไว้
เรื่องของระดับความดังนี้ หน่วยวัดที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ เดซิเบล (DB = DECIBEL) ซึ่งวิธีการวัดระดับความดังนี้ ที่ระดับศูนย์ดีบี (0 DB) นั้น มาจากการวัดที่ความเข้มของเสียงขนาด 0002 ไดน์ ต่อตารางเซนติเมตร ระดับความดังสูง ๆ ขนาดที่ทำให้แก้วหูแตกหรือพิการ อย่างเช่นเสียงระเบิดที่ดังขึ้นใกล้ ๆ หูนั้น จะมีความดังถึง 140 เดซิเบล เป็นความดังที่ทำให้หูพิการตลอดชาติ และเรื่องที่น่าตกใจ คือ ปัจจุบันสถานบันเทิงจำพวกดิสโกเธค ผับบางแห่ง มีความดัคงที่ใกล้เคียงจะทำให้หูหนวกได้เหมือนกัน แม้กระทั่งความดังในท้องถนนของกรุงเทพมหานคร ก็เริ่มอยู่ในระดับอันตรายสูงสุดแล้ว
ระดับความดัง จะเป็นเครื่องกำหนดให้คนเล่นเครื่องเสียงต้องทราบว่า เสียงรบกวนในธรรมชาติทั่วไปนั้น มีระดับความดังอยู่ขนาดหนึ่งแล้ว การเปิดเครื่องเสียงให้มีความดังนั้น จะต้องดังมากกว่าระดับเสียงรบกวนในธรรมชาติ เช่น ในห้องฟังทั่วไปมีเสียงรบกวน 50 ดีบีอยู่แล้ว คุณต้องเปิดเครื่องเสียงดังถึง 60 ดีบี จึงไดยินเสียงเพลงจากเครื่องอย่างนี้ เป็นต้น

140 dB ระดับความดังที่ทำให้หูพิการถาวร
130 dB ระดับที่ทำให้หูพิการได้
120 dB เสียงปืนใหญ่ที่ดังใกล้ ๆ
110 dB เสียงดังที่เฉลี่ยในดิสโก้เธค
100 dB เสียงภายในไนท์คลับ, บาร์, แจ๊ซผับ
90 dB เสียงวิ่งของรถสิบล้อ
80 dB เสียงดังจากรถเมล์
70 dB เสียงวิทยุทั่ว ๆ ไป
60 dB เสียงรบกวนการพูดคุยภายในสำนักงานทั่วไป
50 dB เสียงรบกวนในห้องพักผ่อน
40 dB ห้องพักยามดึก
30 dB ดึกสงัด
20 dB เสียงภายในห้องบันทึกเสียงเกรดเยี่ยม
10 dB ห้องแล็ป
0 dB เงียบสนิท

ในบทต่อไปเราจะมาคุยกันถึงเรื่องของเครื่องเสียงในแง่มุมอื่น ๆ เช่น การตอบสนองความถี่ การเล่นเครื่องเสียงแบบแยกชิ้นหรือรวมชิ้นมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร ในชั่วระยะเวลาอีกไม่นานนักก็จะได้มาเจาะลึกเครื่องเสียง ความมัวมนเหมือนเมฆหมอกที่เคยเห็นมาในวงการเครื่องเสียง จะชัดใสขึ้น แล้วคุณจะรู้สึกสนุกกับเครื่องเสียงดนตรี ว่าเราเล่นเครื่องเสียงก็เพื่อการพักผ่อนอย่างเป็นสุขในบ้านอย่างแท้จริง มิใช่เพื่อเหตุผลอื่นใดเลย

www.wijitboonchoo.c om


บันทึกการเข้า

noi3535-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน565
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1706



อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2007, 11:16:13 am »

          แจ๋วมาก ผมจะเอามาลงหลายครั้งแล้ว  คราวนี้ทุกคนที่ได้อ่านจะได้รู้ว่า คนที่ฟังเพลง กับคนที่ฟังเครื่องเสียงมันต่างกันครับ อย่างน้อยอ่านแล้วก็ได้ข้อคิด Tongue Tongue
บันทึกการเข้า

884-200-9496      ชื่อบัญชี นายนพดล  รอดภัย
      ไทย พาณิชย์ สาขาย่อยบิ๊กซีเพชรบุรี       ออมทรัพย์
   086-3119516 -ทรูมูฟ  088-2356231-ดีแทค
   083-5565916-ดีแทค
deedao
Full Member
member
**

คะแนน9
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 319


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2008, 01:45:22 pm »

***** ----- วันหนึ่งได้มีโอกาสฟังการเดี่ยวไวโอลินของนักดนตรีมือหนึ่ง เสียงติดหูมาจนถึงบ้าน รีบมาเปิดชุดเครื่องเสียงฟัง อะไรกันนั่น เสียงไวโอลินจากลำโพงที่แพง ๆ เรือนแสน ทำไมมันผิดความเป็นจริงขนาดนั้น พอไปยกลำโพงราคาสามหมื่นบาทมาเปลี่ยน เป็นลำโพงที่เคย "เซ็ง" กับมันมาตลอด ค่าที่ว่าเสียงมันออกจืด ๆ เรียบ ๆ ปรากฏว่าลำโพงคู่นี้กลับให้เสียงที่เหมือนดนตรีจริง ๆ อย่างที่ฟังในเวทีคอนเสิร์ตมากกว่า ดังนั้นใครที่คิดว่าของแพงแล้วจะดีหรือถูกต้องนั้นไม่จริงเสมอไป ------*****

ถ้า.. ไวโอลินตัวจริงเล่นสดที่ฟังจริง ยี่ห้อ ก. รุ่น ก.   แล้วไวโอลินตัวที่ใช้บันทึกเสียงในแผ่นที่ลองที่บ้าน ยี่ห้อ ญ.  รุ่น ฐ.  เสียงมันจะเหมือนกันไหม

แล้วถ้า ลำโพงที่บ้านตัวแพงเล่นออกมาแล้วเสียงเหมือนตัวที่มันบันทึกมาจริง  แต่ ลำโพงคู่ถูกกว่ามันเล่นเสียงในแผ่นทีมี แล้วเสียงมันดันไปเหมือนไวโอลินตัวที่ใช้แสดงสดที่เสียงไม่เหมือนตัวที่ใช้บันทึกเลยล่ะ  จะถือได้ไหมว่า ลำโพงตัวถูกกว่าให้เสียงดนตรีได้สมจริงกว่าอีกคู่        Sad   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!