fet ไม่ค่อยมีผลกับกระแสมากนักเท่าที่ได้ทดลองดู หม้อแปลงครับมันขึ้นอยู่กับหม้อแปลงเป็นหลัก ไม่เชื่อลองดูครับ แต่ถ้ามั่นใจว่าหม้อแปลงใหญ่
ดีและลวดทองแดงเส้นโตพอ ก็ลุยเพิ่ม FET ได้เลย
แต่ผู้รู้เขาบอกมาว่าไม่ควรขนาน FET เกิน 6 คู่เพราะจะทำให้เสียเร็ว ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจริง
หรือป่าวไม่เคยลองเหมือนกัน มอสเฟ็ท มีค่าความจุแฝง ค่อนข้างสูง ยิ่งตัวที่นำกระแสสูงๆ วัตต์สูงๆ ค่าซีแฝงยิ่งมีมาก
มันก็ต้องกระชากกระแสจากภาคไดรฟ์บ้าง
ถ้าขนานกันหลายๆตัว ค่าซีก็ยิ่งมาก มันก็เสมือนกับการใช้ซีชอร์ทความถี่สูงลงกราวนด์ แล้วไอซี(ถ้าต่อกับเฟ็ทโดยตรง)
หรือภาคไดรฟ์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ตัวเล็กๆ มันจะไปทานกระแสขนาดนั้นได้อย่างไร (เกินกำลัง)
(มีพารามิเตอร์อีกแยะ ที่มีผล แต่ขออนุญาตยกเอาเฉพาะค่าความจุแฝงมากล่าวนะครับ)
วงจรที่ลงไว้ข้างบน ถ้าใช้ทรานซิสเตอร์คู่BD139/140 มาต่อคั่นให้แต่ละเฟส(ซีก) ผมลองขับITFP4710 =4คู่ ได้ครับ
ถ้าใช้เฟ็ทมากกว่านี้ ผมคงใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์อื่น(D669C/B649Cก็น่าจะเวิร์คเช่นกัน)
หรือไม่ก็เพิ่มกลุ่มไดรฟ์ เป็น๒ (มอสเฟ็ท๘คู่) หรือ ๓(มอสเฟ็ท ๑๒คู่)
ผมเปิดดูแอ็มป์รุ่นเก่า ของอินฟินิตี้ ดูแล้วแอบดีใจ ขนานเฟ็ทไว้ตั้ง ๘คู่
แต่ที่ไหนได้ ๑ตัวนำกระแสสูงสุดได้แค่ ๑๒แอ็มป์ ทนกำลัง ๔๐วัตต์ ความต้านทานภายในก็สูง (แน่นอนว่าค่าซีแฝงต่ำ)
แต่ก็ดีที่เห็นช่องทาง โมฯ (ใช้เฟ็ทกระแสสูง กำลังสูง ๔คู่พอ แล้วประบปรุงภาคไดรฟ์ใหม่)
ขนานเฟ็ทหลายตัวเป็นสิ่งที่ดีเรื่องการแชร์กันนำกระแส แต่ละตัวจะร้อนน้อยลง
เคล็ดไม่ลับ คงอยู่ที่การทำภาคไดรฟ์นี่แหละครับ
เผื่อเหนียวไว้แยะหน่อยคงดีกว่าในระยะยาว
เรียน คิด ตัดสินใจแล้วลงมือทำ คงประกันเรื่องความผิดพลาดได้ (ไม่เสียชิ้นส่วน)