ตอนที่ 16 : ข้าวอินทรีย์ | 23 มิ.ย. 2567
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
ธันวาคม 03, 2024, 11:50:32 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตอนที่ 16 : ข้าวอินทรีย์ | 23 มิ.ย. 2567  (อ่าน 883 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: มิถุนายน 29, 2024, 08:06:30 am »

สารคดี “ก้าวเพื่อชัยชนะ” ตอน 16 : ข้าวอินทรีย์ ออกอากาศวันที่ 23 มิ.ย.67

โค๊ด:
https://youtu.be/OvPYWoQj8AY?si=tUskVQ1XLaC-ErYn


เรื่องราวของศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จ.สุรินทร์
โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้น เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ
อันเป็นที่มาของกลุ่มผลิต
เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 พระราชทาน “เพื่อนช่วยเพื่อน”
เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ร่วมผลิตพันธุ์ข้าว
สะสมสำรองไว้เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานแก่ราษฎร

....จากความเคยชินในการทำนาหว่านและการใช้ปุ๋ยเคมี
มาสู่แนวทางการผลิตข้าวอินทรีย์อย่างประณีตทุกขั้นตอน
ของชุมชนบ้านหนองไผ่ อ.ศีขรภูมิ
ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น รายได้ดีขึ้น หมดภาระหนี้สิน
และชุมชนเกิดความมั่นใจในอาชีพที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษอีกครั้ง


โค๊ด:
https://www.ก้าวเพื่อชัยชนะ.com/

 Kiss


บันทึกการเข้า

eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2024, 08:08:19 am »

ตอนที่ 7 : เส้นทางเมล็ดพันธุ์

โค๊ด:
https://youtu.be/XWfLOTiyP0o?si=Y6FYMw0msQxZx_f9
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2024, 08:11:13 am »

EP 16 : ข้าวอินทรีย์ | โครงการผลิตพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 พระราชทาน "เพื่อนช่วยเพื่อน" จ.สุรินทร์

โค๊ด:
https://youtu.be/Vrbvkud0AMw?si=vVmldU3X14BUx0-S

โครงการผลิตพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 พระราชทาน "เพื่อนช่วยเพื่อน" จ.สุรินทร์
จากความเคยชินในการทำนาหว่านและการใช้ปุ๋ยเคมี
มาสู่แนวทางการผลิตข้าวอินทรีย์อย่างประณีตทุกขั้นตอนของชุมชนบ้านหนองไผ่ อ.ศีขรภูมิ
ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น รายได้ดีขึ้น หมดภาระหนี้สิน
และชุมชนเกิดความมั่นใจในอาชีพที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2024, 08:15:52 am »

รับชมภาพยนตร์สารคดีที่ถ่ายทอด
เรื่องราวจากประสบการณ์จริง จากจุดเริ่มต้น
จนสู่ก้าวแห่งชัยชนะ

โค๊ด:
https://www.ก้าวเพื่อชัยชนะ.com/%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0

 ping!
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2024, 08:27:35 am »

ข้าวหอมมะลิ 105 พระราชทาน ไม่ใช้สารเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ในการปลูก

ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ มูลนิธิชัยพัฒนา :
นางรำพึง อินทร์สำราญ และครอบครัว
ม.3 บ้านกระเบื้อง ต.นาหนองไผ่
อ.ชุมพลบุรี..จ.สุรินทร์    คนต้นแบบ..ครอบครัวตัวอย่าง
ผู้พลิกผืนดินตามแนวพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียง...ผืนดินในวันนี้..
อุดมสมบูรณ์ด้วยผลิตผลที่มีคุณภาพ...
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปลอดสารเคมี..
มีข้าวหอมมะลิชั้นดี เป็นแหล่งผลิต
เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ105พระราชทาน
และมี พืชผักสวนครัวหลากหลาย..ผลไม้
หมู ไก่ เป็ด ปลา กบ..
สำหรับทานเองและจำหน่าย...
ที่นี่คือศูนย์เรียนรู้..รับผู้มาดูงานมากกว่า
3พันคน/ปี ทานมื้อกลางวันอาหารพื้นบ้าน
จากผลผลิตจากสวน...ในราคาย่อมเยาว์
ด้วยฝีมือพี่รำพึง..และลูกๆ...
รุ่นลูกกำลังสืบทอดความรู้จากพ่อแม่
ทุกคนอยู่รวมเป็นครอบครัวที่อบอุ่น..
ต่างมีความสุขและภาคภูมิใจ...
ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงห่วงใยประชาชนของพระองค์...

วันที่ 18 พ.ย.64 นายสุริยน พัชรครุกานนท์
รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
พร้อมด้วยนายพนมไพร ดีใหม่ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ต้นแบบ
วนเกษตรของนางรำพึง อินทร์สำราญ หมู่ที่ 3
แปลงที่ 48 เนื้อที่ 11-1-18 ไร่
ซึ่งขณะนี้ได้พัฒนาเป็นศูนย์ต้นแบบของนิคมการเกษตร
บ้านกระเบื้อง ต.นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์
นางรำพึง อินทร์สำราญ เปิดเผยว่า
เดิมพื้นที่ของตนทำนาปีละครั้ง มีผลผลิต 250 กก./ปี ไม่มีผลกำไร

แต่เมื่อเข้าร่วมโครงการส่งเสริมวนเกษตรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่
ร่วมกับ ส.ป.ก. ได้รับการสนับสนุน
สระเก็บน้ำขนาด 5,000 ลูกบาศก์เมตร
พร้อมถมดินด้านเดียว มีการปรับปรุงถนนผ่านแปลง
มุ้งสำหรับปลูกผัก ปลูกไผ่ ผักสวนครัว
มีหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือในเรื่อง
การผลิตพันธุ์ข้าวหอมมะลิ
ไม้ยืนต้นต่างๆ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่
จนในปัจจุบันมีผลผลิตข้าว 500 กก./ไร่
รายได้ 100,000 บาท/ปี
สามารถเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105
ในระบบอินทรีย์ที่ได้คุณภาพ
และเลี้ยงหมูพระราชทาน
ส่งผลผลิตให้กับมูลนิธิชัยพัฒนา
มีรายได้หมุนเวียนจากหมู ไก่ ผัก ปลา ฯลฯ
สามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
จนได้รับการยกระดับเป็นศูนย์ต้นแบบวนเกษตร
ปัจจุบันมีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ จำนวน 24 ราย
พื้นที่รวม 161 ไร่ ด้านรองเลขาธิการ ส.ป.ก.
กล่าวเพิ่มเติมว่า ส.ป.ก.
ได้สนองนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคการเกษตร
โดยกำหนดเขตส่งเสริมและพัฒนาการผลิต
เน้นการดำเนินงานในลักษณะนิคมการเกษตร
ที่มีการทำงานอย่างบูรณาการครบวงจร
จึงได้มอบหมายให้ ส.ป.ก.สุรินทร์ ดำเนินการจัดตั้ง
นิคมการเกษตรในพื้นที่ ต.นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์
ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ร่วมบูรณาการ เพื่อสร้างความพร้อมของพื้นที่และเกษตรกร
ที่เข้าร่วมโครงการโดยจัดหาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
สนับสนุนองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเพิ่มศักยภาพ
การผลิตที่เหมาะสม นอกจากนี้ ส.ป.ก. ยังสนับสนุน ส่งเสริม
และพัฒนามาตรฐานสินค้าโดยการเชื่อมโยงการผลิตสู่การตลาด
ทำให้เกษตรกรมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดี
สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
สร้างรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ในการเป็นฐานการผลิต
ทางการเกษตรและสร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่
ตลอดจนผู้ที่สนใจเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมในอนาคต

 ping!
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2024, 08:34:32 am »

ตื่นมา ตี 4 ดูสารคดีต่างประเทศไปเรื่อยเพื่อประเทืองปัญญา
ช่วง 06.00-06.30 สื่อ ช่อง TNN ได้ออกอากาศ 
สารคดีก้าวเพื่อชัยชนะ เนื้อหาเกี่ยวกับ ครอบครัว
นางรำพึง อินทรสำราญ
บ้านกระเบื้อง ต.นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์

กับการทำ นาข้าวหอมมะลิ 105 พระราชทาน
แนวทางการผลิตข้าวอินทรีย์
ไม่ใช้สารเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์

 ping!

ข้าวหมดพอดี วันนี้จะออกไปหาซื้อข้าว 105 ORGANIC ที่แมคโคร
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2024, 09:50:32 am »

 THANK!! wav!!
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2024, 01:35:09 pm »

วิ่งหาที่ แมคโคร ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ไม่มีข้าว ข้าวหอมมะลิ 105
คนขายแทบทุกที่ที่ไปมา บอกเนี๊ยะข้าว หอม 105
แต่ไม่มีเขียนข้างถุง แม่ง มั่ว 


บอกตามตรงนะผมเป็นคนไทยผมยังไม่รู้เลยว่าข้าวที่ดีดี 
สามารถซื้อได้จากที่ไหนหรอครับ
หรือซื้อตามร้านขายข้าวทั่วๆไป
ห้าง Big c  แมคโคร  โลตัส ฯลฯ
ตอบ : ไม่มี
โดยส่วนมากจะส่งออกเป็น Premium grade


1. ข้าวหอมมะลิที่ยอมรับกันจะมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันคือ
1. พันธุ์กข.15 และ
2. พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ก็คือพันธุ์ที่ถามถึง

2. ข้าวหอมมันจะมีอีกหลายพันธุ์ที่ปลูก เช่น ปทุมธานี หอมสุพรรณ
คือการจะเป็นข้าวหอมได้ เวลาหุงต้มต้องมีกลิ่นหอม
พื้นข้าวต้องนิ่มเมื่อหุงสุก
มีค่าอมิโลสต่ำประมาณ 14 ลงมา (ต่ำมากจะเป็นข้าวเหนียวไป คือมันจะนิ่มจนเหนียว)

3. ข้าวหอมมะลิ ต้นกำเนิดจริง ๆ คือเป็นพันธุ์ข้าวที่เก็บมาจากพื้นที่ใน จ.ฉะเชิงเทรา
ตอนกรมการข้าวรวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
โดยข้าวขาวดอกหอมมะลิถูกรวบรวมเป็นอันดับที่ 105
จึงนำมาเรียกเป็นชื่อพันธุ์ว่าขาวดอกมะลิ 105 แต่คนไทยจะเรียกย่อว่า
ข้าวหอมมะลิ 105 และกรมวิชาการเกษตรยังเอาไปดัดแปลงพันธุ์
โดยการฉายรังสีได้พันธุ์ข้าวเหนียว กข.6 ซึ่งมีคุณสมบัติ
     นุ่ม หอม เมล็ดใส ๆ ชาวบ้านทั่วไปยังติดปากเรียกว่า
     ข้าวเหนียวมะลิก็ยังมีในบางพื้นที่

4. พื้นที่เพาะปลูกมาก ก็คือพื้นที่ในจังหวัดภาคอีสาน เช่น
ร้อยเอ็ด ยโสธร สุรินทร์ อำนาจเจริญ มหาสารคาม ฯลฯ มีเกือบทุกจังหวัด
    และภาคเหนือในจังหวัดเชียงราย พะเยา เชียงใหม่
ถ้านอกเหนือจากนี้จะทางราชการจะเรียกว่าข้าวหอมจังหวัด
เพราะถือว่ามีคุณสมบัติ
ที่อาจจะกลายพันธุ์ไปจากแหล่งผลิตในภาคอีสาน
และ 3 จังหวัดภาคเหนือที่บอกไว้

5. ข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์ข้าวที่ไวแสง ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติของข้าวพื้นเมืองไทย
ทำให้เพาะปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น คำว่าไวแสงคือ
ไม่ว่าคุณจะเพาะปลูกในช่วงต้นฤดูเดือนไหนก็ตาม
เช่นคนที่ปลูกเดือนเมษายน กับคนที่ปลูกเดือนสิงหาคม ต้นข้าวมันจะไปออกรวง
พร้อมกันในช่วงกลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนพฤศจิกายน
เพราะมันต้องอาศัยช่วงแสงแดดที่กลางวันสั้นกว่ากลางคืน คือมืดเร็วกว่า
ช่วงเดือนก่อนหน้านี้ มันถึงจะตั้งท้องออกรวง
ดังนั้น เกษตรกรบางรายดวงซวยไปเจอไฟส่องสว่างของถนนตามสี่แยกที่ส่องทั้งคืน
ทำให้ข้าวไม่ยอมออกรวงก็มี
ส่วนที่มีข่าวว่าบางจังหวัดสามารถทำการปลูกข้าวหอมมะลินาปรังได้
ก็ให้รู้ไว้ว่าคุณสมบัติมันไม่ได้ตามเกณฑ์

6.  ทำไหมคนไทยถึงบริโภคข้าวหอมมะลิราคาแพง
ก็เพราะว่ามันปลูกได้แค่ปีละครั้งเท่านั้น
แล้วผลผลิตต่อไร่ก็ต่ำมากคือเฉลี่ยเพียงแค่
350-450 กก./ไร่ เท่านั้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติด้อยของพันธุ์ข้าวชนิดนี้
ถ้าต้องขายราคาถูก เกษตรกรที่ไหนจะอยากปลูก เพราะผลผลิต
ก็น้อยอยู่แล้ว ปีได้แค่ปีละครั้ง ยังมาขายได้ราคาต่ำอีก

7.  รัฐบาลต้องจำนำข้าวหอมมะลิ ในราคาสูงเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
ที่ปลูกข้าวหอมมะลิให้อยู่ได้ จึงจำนำสูงกว่าข้าวชนิดอื่น ๆ ในปัจจุบัน
จำนำที่ตันละ 20,000 บาท แต่เฉลี่ยแล้วเกษตรกรจะได้รับที่ตันละ 18,000 ขึ้นไป
ตามคุณภาพข้าวและระดับความชื้น สิ่งเจือปนที่มี
ซึ่งก็ถือว่าสูงกว่าราคาตลาดมาก
ราคาตลาดปัจจุบันจะอยู่ที่ตันละ 14,500-16,000 บ.

8.  คิดกันง่าย ๆ จากราคารับซื้อข้าวเปลือกที่ตันละ 15,000 บ.
ซึ่งเมื่อสีเป็นข้าวสาร จากข้าวเปลือก 1 กก.จะได้ข้าวสารประมาณ 450 กรัม
ที่เหลือก็จะเป็นปลายข้าว รำ และแกลบไป
ทำให้ราคาจำหน่ายต้องสุงตาม คือ
ข้าวเปลือก 1 กก.= 15 บ. สีได้ข้าวสาร 450 กรัม = 6.75 บ.
ต้นทุนจะเป็น 15+6.75=21.75 บ.
เมื่อรวมกับค่าใช้จ่าย เช่นค่ากระสอบ ค่าไฟ ค่าขนส่ง
ค่าคนงาน ต้นทุนอื่น ๆ และกำไรของโรงสี
 ผู้ขายส่ง ขายปลีก จนถึงคนกิน จึงออกมาเป็น กก.ละ 30 บ.ขึ้นไป
นี่คิดจากราคาตลาดไม่ได้คิดจากราคารับจำนำนะ ไม่งั้นสูงกว่านี้

9.  ถ้าจะซื้อข้าวหอมมะลิแท้ ไม่มีข้าวอื่นปลอมปน
ต้องไปหาซื้อพวกข้าวที่ผลิตโดยสหกรณ์การเกษตรทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในแหล่งผลิต
เช่น สหกรณ์ใน จ.ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ยโสธร อุบล อำนาจเจริญ
เพราะสหกรณ์เหล่านี้จะไม่ผสมข้าวอื่น ๆ ลงไปแน่นอน เนื่องจากใน
แหล่งผลิตไม่มีการปลูกข้าวเจ้าชนิดอื่น
และเขาก็ไม่รู้จะผสมไปเพื่ออะไร ให้เสียชื่อเสียงของสหกรณ์เขา
แต่ก็ต้องยอมรับราคาที่แพงขึ้น
กว่าข้าวถุงยี่ห้อตลาด ๆ ทั่วไปนะ

10. วิธีสังเกตุเมล็ดข้าวตอนซื้อ ให้ดูลักษณะของเมล็ดข้าว ต้องมีสีใส
ไม่มีสีขาวขุ่นแบบข้าวเหนียว หรือขาวมัว ๆ ปนอยู่ในถุง เพราะข้าว
หอมมะลิต้องขาว ใส เก็บไว้นานแค่ไหน เอามาหุงต้องมีกลิ่นหอม
ไม่มีกลิ่นเหม็นสาป แบบข้าวภาคกลาง ซึ่งเป็นเพราะข้าวหอมมะลิ
จะเก็บเกี่ยวตอนข้าวสุกเหลืองอร่ามเต็มทุ่ง ข้าวส่วนใหญ่จะแห้ง
เพราะการเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เป็นช่วงหน้าหนาว
น้ำจะแห้งนา แสงแดดจะจัด ช่วยให้ข้าวแห้งเร็ว ข้าวจึงไม่มีกลิ่นสาป
ถ้าอยากได้ข้าวหอมมะลิแท้ให้ขึ้นมาเที่ยวภาคอีสาน
แล้วแวะหาซื้อตามร้านค้าสหกรณ์ในตัวอำเภอของจังหวัดที่กล่าวไว้ข้างต้น
ส่วนผมไม่ได้เป็นชาวนา แต่เป็นคนกรุงเทพฯ
ที่มาทำงานอยู่ภาคอีสานนานเป็น 20 ปีแล้ว
จนกินข้าวภาคกลางไม่เป็น มันแข็ง ติดกินข้าวหอมมะลิ
จนชิน กลับไปบ้านกรุงเทพฯ ไม่ยอมกินข้าวที่บ้านโดนพ่อด่าประจำ
เพราะกินไม่อร่อยเลย  เพื่อนจากภาคใต้ขึ้นมาเที่ยว พาไปกินข้าวร้าน
ไหน ๆ โดยเฉพาะข้าวหมูแดง ข้าวมันไก่ มันบอกทำไมข้าวในภาคอีสานอร่อยทุกร้าน
ทั้ง ๆ ที่เราก็ว่าไม่เห็นจะอร่อยเลยร้านนี้ พอมาคิดดู
คงเป็นเพราะเขาใช้ข้าวหอมมะลิแท้นี่เอง
เอาลงไปให้ญาติเพื่อนที่ปักษ์ใต้ก็ติดใจกันทุกคน

18 ธันวาคม 2556

โค๊ด:
https://pantip.com/topic/31399548
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2024, 02:47:49 pm »

ส่วนใหญ่ส่งนอก คนไทย ไม่ได้กินนอกจาก ชาวนาผู้ผลิต

บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2024, 08:21:10 am »

คนขายข้าวที่สนิทกันไปซื้อเค้าประจำบอกให้ฟังว่า

มันคือข้าวสำหรับเศรษฐีเค้ากิน 15กิโลหลายพัน

ORGANIC แบบเราๆ ข้าวกล้อง นี่หละดีที่สุด

ไม่ต้องแสวงหา หรอก เปลืองตังค์

สำหรับผู้มีทางเลือก ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!