แพทย์ยกเคส ย้ำเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่ทางอากาศได้
ไม่ต่างจากวัณโรค แม้จะรักษาระยะห่าง
หรือไม่สัมผัสสิ่งของร่วมกันก็ตาม
แนะการสวมหน้ากากอนามัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ
นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก
"หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC" ระบุถึงข้อมูลล่าสุด
ที่สนับสนุนว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ระยะฟักตัว
สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสทางอากาศ (airborne transmission)
ไม่ต่างจากวัณโรค
โดยยกเคสอ้างอิงจากสื่อในอเมริกา ที่ระบุว่า
กลุ่มนักร้องประสานเสียงในโบสถ์แห่งหนึ่งที่รัฐวอชิงตัน
จำนวน 45 คน จาก 60 คน ติดเชื้อไวรัสโควิด-19
และเสียชีวิต 2 คน ภายใน 3 สัปดาห์
ทั้งที่ทุกคนที่มาร้องเพลงเป็นเวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง
วันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยไม่มีใครไอ ไม่มีใครป่วย
และพวกเขาป้องกันตัวเองทุกอย่าง
ล้างมือ ยืนรักษาระยะห่าง 1-2 เมตร
ไม่แตะตัวหรือแตะต้องสิ่งของอะไร
แต่ปรากฏว่าเมื่อสมาชิกนักร้องกลุ่มนี้
แยกย้ายกันกลับบ้าน
บางคนเริ่มไม่สบาย
จนตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ถึง 45 คน
และป่วยเสียชีวิตไป 2 คน
แสดงว่าขณะที่คนที่อยู่ในระยะฟักตัว
ร้องเพลงเปล่งเสียงสูงออกมามีละอองฝอย (droplet nuclei)
ฟุ้งกระจายออกมา เป็นละอองฝอยขนาดเล็ก
ไม่ใช่น้ำลายหรือเสมหะ ละอองเล็กขนาดต่ำกว่า 5 ไมครอน
ล่องลอยไปในอากาศ
ทำให้คนที่อยู่ห่างออกไปไกลๆ ก็ติดเชื้อได้
ไม่ใช่จากการไอจามรดกัน การสัมผัสเนื้อตัว หรือสิ่งของร่วมกัน
ปัจจุบันมีหลักฐานจากการทดลอง
ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า
เชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถล่องลอย
มีชีวิตอยู่ในอากาศนานถึง 3 ชั่วโมงต่อไปนี้ถ้าต้องร้องเพลง ตะโกนเชียร์กีฬา
และมีคนอยู่ด้วยกันหลายคน คนที่ร้อง หรือตะโกน
ต้องใส่หน้ากากอนามัย เพราะอาจอยู่ในระยะฟักตัว
โดยที่ตัวเองไม่รู้ เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
เชื้อทางอากาศให้กับผู้อื่นเป็นวงกว้าง.
Cr:
https://www.thairath.co.th/news/society/1809678